บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

“ธรรมะ” คือ นิพพานใช่หรือไม่


บทความนี้ เกิดจากการที่ผมเข้าไปอ่านการถกเถียงกันเกี่ยวกับธรรมะในเว็บแห่งหนึ่ง ซึ่งผมจะทำเป็นอยู่เป็นประจำ เพื่อตรวจสอบว่า ความคิด/ความเชื่อของคนที่สนใจเกี่ยวกับพุทธเถรวาทไปถึงไหนกันแล้ว

วันหนึ่ง ผู้เขียนพบว่ามีกระทู้ที่น่าสนใจ เพราะกล่าวถึงพุทธพจน์ที่สำคัญ  ซึ่งควรที่จะนำมาวิพากษ์วิจารณ์ให้รู้กันโดยทั่วไป

เนื่องจาก การแสดงความเห็นของทั้งผู้ตั้งกระทู้และผู้ตอบกระทู้นั้น แสดงถึงความไม่รู้และไม่เข้าใจในพุทธพจน์ดังกล่าว

แต่มีความเชื่อผิดๆ ว่า ผู้ที่ตอบกระทู้นั้น มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่งแล้ว ในองค์ความรู้ของพุทธเถรวาท

ข้อความที่ถกเถียงกันดังกล่าวนั้น เกิดจากที่ผู้ตั้งกระทู้มีความงุนงงสงสัยกับข้อความในพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” และตั้งคำถามเป็นเชิงขอความเห็นจากผู้อ่านทั้งหลายว่า

คำว่า “ธรรม” ในพุทธพจน์นั้น เป็นนิพพานใช่หรือไม่? ซึ่งผู้ตั้งกระทู้สันนิษฐานว่า ต้องใช่อย่างแน่นอน เพราะไม่อย่างนั้น จะเห็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร?

ผู้ตั้งกระทู้ยังถามไปยังประเด็นอื่นๆ อีก  แต่ผมเห็นว่า ไม่เกี่ยวกับประเด็นที่จะนำเสนอกันในวันนี้ จึงมิได้นำมาเสนอไว้

ต่อมามีผู้มาตอบกระทู้ถามดังกล่าวว่า

ถ้าจะตีความในอีกลักษณะหนึ่งก็เรียกได้ว่า
เห็น = การแจ้งในสิ่งๆ นั้น
พุทธะ = ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
การเห็นตถาคต ก็คือ เห็นพุทธะ
การเห็นพุทธะ ก็คือการแจ้งในสัจธรรม เป็นการเข้าสู่การตื่น เป็นผู้รู้ และเบิกบาน
สิ่งเหล่านี้ก็คือลักษณะเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องปลาย  สุดท้ายก็คือนิพพานนั่นเอง

กระทู้ตอบดังกล่าวนั้น มีผู้ที่มีความคิด/ความเชื่อไปในทำนองเดียวกัน แสดงความนิยมชมชอบเป็นอย่างยิ่ง 

ถึงกับยกยอผู้ตอบกระทู้ว่า เป็นผู้ฉลาดล้ำเกินมนุษย์ปกติทั่วๆ ไป

ผู้ตอบกระทู้ตอบรับคำสรรเสริญเยินยอดังกล่าว ด้วยข้อความพยายามถ่อมตัว โดยตอบว่า เป็นการแปลตามตัวอักษร  แต่ก็มาย้ำเพื่อแสดงนัยยะถึงความเก่งกล้าของตนเองที่มีมากกว่าบุคคลอื่นๆ ว่า

“ผมชอบอะไรที่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย”

ประเด็นที่ ผู้เขียนจะนำเสนอในบทความนี้ก็คือ  ผู้เขียนเห็นว่า ทั้งผู้ตั้งกระทู้และผู้ตอบกระทู้ดังกล่าว สมองหมาปัญญาควายทั้งนั้น

ไม่มีความรู้ความเข้าใจในข้อความที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต เท่าใดนัก

ในกรณีของผู้ตั้งกระทู้  ผู้เขียนไม่ติดใจอะไรมากนั้น เพราะ “ไม่รู้” จึงมาถาม  แต่ผู้เขียนติดใจ ผู้ตอบกระทู้และลิ่วล้อทั้งหลายว่า 

เมื่อตนเองไม่รู้อะไรมากนัก ทำไมจึงแสดงความอหังการ์ ด้วยการแสดงความเห็นที่ไม่ถูกต้องและไม่ตรงประเด็นลงไปในที่สาธารณะเช่นนี้

พวกโง่ๆ บวกกับสมองหมา ปัญญาควายพวกนี้  ชอบอวดตัวว่า “รู้” ในสิ่งที่ตนเอง “ไม่รู้”

ประเด็นที่จะวิพากษ์วิจารณ์กันต่อไปนั้น เกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับพระสูตร “วักกลิสูตร”  เราจึงควรมาทำความเข้าใจกับพระสูตรนั้นกันก่อน

วักกลิสูตร ว่าด้วยการเห็นธรรม ชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า

พุทธพจน์ที่มีความหมายดังกล่าวนั้น ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกหลายแห่ง  แต่เท่าที่รู้จักกันทั่วไป เป็นข้อความในวักกลิสูตร ซึ่งอยู่ในพระสุตตันตปิฎก เล่ม 9 สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค  โดยมีความเป็นมาดังนี้

พระวักลิ เดิมเป็นพราหมณ์วักลิ พอเห็นพระพุทธเจ้าก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสออกบวช บวชเพื่อตามพระพุทธเจ้า แต่ไม่ใช่บวชเพื่อหวังบรรลุธรรม

พระพุทธเจ้าเสด็จไปไหนก็ตามไปนั่งดู เพื่อดูพระสิริโฉมกายเนื้อของพระพุทธเจ้า

ก่อนที่จะตรัสข้อความดังกล่าว พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้พระนครราชคฤห์  ในช่วงนั้นพระวักกลิอาพาธ แต่อยากจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อต้องการเห็นพระวรกายของพระพุทธองค์

เมื่ออาพาธไปด้วยตนเองไม่ได้ จึงขอให้พระรูปอื่นไปเข้าเฝ้าเพื่อทูลเชิญให้พระพุทธองค์ไปโปรดพระวักกลิ  

เมื่อพระพุทธองค์ไปพบพระวักกลิแล้ว หลังจากที่ทรงปฏิสันถารกับพระวักกลิไปชั่วขณะหนึ่งแล้ว จึงตรัสข้อความว่า

อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร?
ดูกร วักกลิ  ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นธรรม.
วักกลิเป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม.

คำแปลของวักกลิสูตร เมื่อพิจารณาด้วยหลักการของภาษาศาสตร์ (Linguistics) ก็ดูไม่ยากอะไร 

กล่าวคือ  ถ้ามีใครก็ตามเห็น ธรรมะผู้นั้นก็ต้องเห็น พระพุทธเจ้า”  ถ้ามีใครเห็น พระพุทธเจ้าบุคคลคนนั้นก็ต้องเห็น ธรรมะ

เมื่อตรัสข้อความดังกล่าวครั้งแรกไปแล้ว พระพุทธเจ้ายังทรงย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า เป็นความจริงและตรัสโดยสรุปว่า

ถ้าใครมีเห็นธรรม ก็ต้องเห็นพระองค์ท่าน ถ้าใครเห็นพระองค์ท่าน ก็ต้องเห็นธรรม

คำแปลของวักกลิสูตรที่ว่าดูง่ายๆ นั้น ปรากฏว่าพุทธวิชาการ/นักปริยัติในประเทศไทยแปลความ/อธิบายความเข้ารกเข้าพงไปเป็นจำนวนมาก

เพราะ ไม่เคยปฏิบัติธรรม ไม่เคยนำข้อเขียนของพระปฏิบัติมาพิจารณาร่วมด้วย ทั้งๆ ที่พุทธวิชาการ/นักปริยัติก็ย้ำเสมอๆ ว่า การศึกษาศาสนาพุทธต้องมีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

ยกตัวอย่างเช่น ในงานวิจัยระดับปริญญาโทชิ้นหนึ่ง ได้ให้ความหมายของพุทธพจน์ดังกล่าวว่า

ความสำคัญของธรรมตามข้อความนี้ก็คือ ถึงแม้ว่า จะได้เคยเห็นหรือรับฟังคำสอนจากพระพุทธเจ้าโดยตรงก็ตาม แต่หากไม่เห็นหรือเข้าใจธรรมแล้ว ก็ถือว่ามิได้เห็นพระพุทธองค์ซึ่งเป็นผู้สั่งสอนพระธรรม

ในทางกลับกัน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับฟังพระธรรมคำสอนจากพระพุทธเจ้าโดยตรง แต่ถ้าหากเห็นหรือเข้าใจธรรมแล้ว ก็ถือว่าได้เห็นพระพุทธองค์แล้ว

พิจารณาการตีความของผู้ทำวิจัยดังกล่าว จะเห็นว่า ไม่ได้เข้าเรื่องเข้าราวตามพระวักกลิสูตรเลย

ตีความมั่วเลื่อนเปื้อนไปหมด ตีความว่า เห็น ไปเป็น เข้าใจ ซึ่งผิดพลาดอย่างแน่นอน

เห็นก็เห็น เข้าใจก็เข้าใจ ทั้ง 2 คำนั้นเป็นคนละศัพท์กัน

ในพระวักกลิสูตรนั้น คำว่า เห็น ต้องหมายถึง การเห็นจริงๆ ไม่ใช่ เข้าใจ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า เข้าใจ นี้ ไม่ใช่เป็นคำที่อยู่ในพระไตรปิฎก สันนิษฐานว่า เราแปลมาจากภาษาอังกฤษที่ว่า “understand”

ขออธิบายเพิ่มเพื่อความกระจ่างอีกนิดหนึ่งว่า  ในการบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น พระพุทธเจ้าตรัสชัดเจนว่า “ไม่เกี่ยวกับตรรกะ” คือ ไม่ต้องใช้เหตุผลมาพิจารณากัน 

มีแต่เห็นกับรู้ คือ เห็นยิ่งกับรู้ยิ่ง

ความหมายของคำว่า “เข้าใจ” จึงไม่มีในพระไตรปิฎก คำว่า เข้าใจถ้าจะมี ก็ควรเป็นส่วนหนึ่งของคำว่า “รู้” หรือ “รู้ยิ่ง

การที่พุทธวิชาการตีความคำว่า เห็น ไปเป็นอย่างอื่นทั้งหมด ก็สันนิษฐานได้ว่า เพราะไปเชื่อวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอน ซึ่งบางคนเรียกว่า วิทยาศาสตร์แบบนิวตัน

วิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนหรือวิทยาศาสตร์แบบนิวตันนั้น ปัจจุบันนี้นักฟิสิกส์ใหม่ได้โค่นล้มทฤษฎีและกฎไปหมดแล้ว

อธิบายให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ว่า คำอธิบายของวิทยาศาสตร์เก่าแบบนิวตัน อธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้อย่างถูกต้องน้อยกว่าวิทยาศาสตร์แบบไอน์สไตน์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ฟิสิกส์ใหม่

ยกตัวอย่างเรื่องแสง

วิทยาศาสตร์เก่าแบบนิวตันอธิบายว่า แสงเดินทางเป็นเส้นตรง ซึ่งเป็นความจริงแบบแคบๆ คือ จริงเฉพาะในโลกเท่านั้น 

ทฤษฎีและกฎของฟิสิกส์ใหม่อธิบายได้ว่า แสงในโลกเดินทางเป็นเส้นตรง แต่แสงในจักรวาลเดินทางเป็นเส้นโค้ง 

จะเห็นได้ว่า ฟิสิกส์ใหม่อธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้ครอบคลุมกว่าวิทยาศาสตร์เก่าแบบนิวตัน

วิทยาศาสตร์เก่าเชื่อว่า สิ่งใดที่เป็นจริงจะต้องสัมผัสได้ด้วย หู ตา จมูก ลิ้น และกาย คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 

การเห็นในพระวักกลิสูตรต้องใช้ตาภายในที่ไม่ใช่ตาเนื้อ/มังสจักษุ ซึ่งพุทธวิชาการเห็นว่า ตาภายในไม่มีตามนักวิทยาศาสตร์เก่า จึงไม่เชื่อและตีความผิดพลาดไปหมด

แต่อย่างไรก็ดี มันก็ยังเป็นเรื่องแปลกอยู่ว่า ทำไมพุทธวิชาการ/นักปริยัติไม่นำข้อเขียนของพุทธปฏิบัติธรรม ซึ่งหมายความรวมถึงพระที่สอนปฏิบัติตามสายปฏิบัติธรรม เช่น สายพุทโธ สายนะมะพะทะ สายยุบหนอพองหนอ และสายวิชาธรรมกาย เป็นต้น เอามาศึกษาร่วมด้วย 

คงศึกษาแต่ผลงานเขียนของพระนักวิชาการที่ไม่เคยปรากฏว่า สอนปฏิบัติธรรมมาร่วมในการศึกษาเท่านั้น

สิ่งที่น่าจะตั้งข้อสังเกตให้มากขึ้นไปอีกก็คือ พุทธวิชาการ/นักปริยัติส่วนใหญ่ไม่ได้นำหลักการของสาขาวิชาภาษาศาสตร์เข้ามาร่วมในการศึกษาด้วย

คงใช้วิชาความรู้จากภาษาบาลีบ้าง จากวิชาความรู้ภาษาไทยบ้าง  ผสมปนเปไปกับหลักการทางปรัชญาเท่านั้น

ในบทความนี้ ผู้เขียนจึงจะนำหลักการของทางภาษาศาสตร์เข้ามาร่วมศึกษาด้วย….




2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ4 พฤษภาคม 2555 เวลา 16:30

    ผู้เขียนได้วิพากวิจารณ์สิ่งที่คนอื่นได้อธิบาย ไม่ว่าจะ " เห็น " หรือ " เข้าใจ " แต่ไม่ได้แสดงภูมิความรู้ของท่านที่อ้างโนน นี่ มากมาย แต่ก็ไม่ได้ให้ความกระจ่างกับคนที่ไม่รู้แต่อย่างใดเลย

    ตอบลบ
  2. บทความชุดนี้มี 11 บทความ อ่านให้ครบ แล้วมาถามใหม่ ก็ได้

    สงสัยในบทความไหน ก็ถามในบทความนั้น ก็ได้

    ตอบลบ