บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

เบื้องปลายสุดท้ายคือนิพพาน


กลับเข้ามาที่ประเด็นหลักของบทความชุดนี้ คือ มีคนตั้งคำถามเกี่ยวกับพุทธพจน์ “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ว่า คำว่า “ธรรม” ในพุทธพจน์นั้น เป็นนิพพานใช่หรือไม่?

ผู้ตั้งกระทู้สันนิษฐานว่า ต้องใช่อย่างแน่นอน เพราะไม่อย่างนั้น จะเห็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไรต่อมามีผู้มาตอบกระทู้ถามดังกล่าวว่า

ถ้าจะตีความในอีกลักษณะหนึ่งก็เรียกได้ว่า
เห็น = การแจ้งในสิ่งๆ นั้น
พุทธะ = ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
การเห็นตถาคต ก็คือ เห็นพุทธะ
การเห็นพุทธะ ก็คือการแจ้งในสัจธรรม เป็นการเข้าสู่การตื่น เป็นผู้รู้ และเบิกบาน
สิ่งเหล่านี้ก็คือลักษณะเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องปลาย  สุดท้ายก็คือนิพพานนั่นเอง

ผมได้วิพากษ์วิจารณ์ข้อความไปเกือบทั้งหมดแล้ว เหลือบรรทัดสุดท้ายคือ

ข้อความนี้ สิ่งเหล่านี้ ก็คือลักษณะเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องปลาย  สุดท้ายก็คือนิพพานนั่นเอง

ข้อความสุดท้ายนี้แหละ ที่เป็นหลักฐานยืนยันที่สำคัญถึงความโง่ของผู้ตอบกระทู้ดังกล่าว  พุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” นั้น  ไม่เกี่ยวข้องกับ “สิ่งเหล่านี้” ตรงนี้

คำว่า "สิ่งเหล่านี้" นั้นคืออะไรบ้าง และเป็นอย่างไร  "สิ่งเหล่านี้" มีลักษณะเป็นเบื้องต้นอย่างไร เป็นเบื้องกลางอย่างไร และเป็นเบื้องปลายอย่างไร

นอกจากนั้นแล้ว คำว่า "เบื้องปลาย" ก็น่าจะหมายถึง สุดท้ายปลายทางของสิ่งใดๆ ก็ยังกลับมีสิ่งที่ต่อจากเบื้องปลายอีกว่า "สุดท้ายก็คือนิพพาน"

ผมขอยืนยันว่า คำอธิบายข้างต้นของผู้ตอบกระทู้ ไม่ได้เป็นการแปลหรือตีความแปลตามตัวอักษรแต่อย่างใด

อีกทั้ง เมื่ออ่านแล้ว ก็ไม่ได้ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อความที่ว่า "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นดวงธรรม" เพิ่มขึ้นแต่เดิมแต่อย่างใด

ข้อเขียนของผู้ตอบกระทู้นั้น  นอกจากผู้ตอบกระทู้เองก็ยังไม่เข้าใจในข้อความที่ว่า "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นดวงธรรม" อย่างจริงจังแล้ว

ยังทำให้ผู้ที่มีความรู้น้อยมากๆ และไม่นิยมคิดด้วยสติปัญญาของตนเอง นิยมแต่เพียงนำความคิดของผู้อื่นมาเป็นความรู้ของตนเอง จึงทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อความดังกล่าวขึ้นไปอีก

บุคคลพวกนี้ มักจะทำตัวเป็นอึ่งอ่างที่พยายามจะพองตัวให้เท่ากับวัวที่ลูกของตัวเองเล่าให้ฟัง ผลสุดท้ายก็คือ ท้องแตกตาย

ประการสุดท้ายที่จะเตือนกันในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนด้วยกันก็คือ ศาสนาพุทธเป็นคำสอนที่ดีที่สุดในอนันตจักรวาลนี้ 

เป็นคำสอนที่สามารถจะทำให้มนุษย์สามารถพ้นความทุกข์ได้

แต่ถ้ามีคนใดคนหนึ่งอธิบายคำสอนของศาสนาพุทธออกนอกไปจากแนวทางที่ถูกต้อง โทษทัณฑ์ที่ได้รับ ก็จะรุนแรงสาหัสเทียบเท่ากับความสุขที่อาจจะได้เลยทีเดียว

ดังนั้น  ถ้า "ไม่รู้" ก็ควรจะบอกกับผู้อื่นว่า "ไม่รู้"   "รู้" ขนาดใดก็ควรจะบอกว่า "รู้" ขนาดใด  ข้อความใดยัง "ไม่ชัดเจน" ก็ควรจะบอกว่า "ไม่ชัดเจน" 

จะเป็นหนทางที่ดีว่า ที่ปลอดภัยกว่า การที่จะทำตัวเป็นอึ่งอ่างพองลม โดยต้องการมีหน้ามีตามีชื่อเสียงในสังคมจอมปลอม ไม่ใช่หรือ




เห็นธรรมคือแจ้งสัจจธรรม


กลับเข้ามาที่ประเด็นหลักของบทความชุดนี้ คือ มีคนตั้งคำถามเกี่ยวกับพุทธพจน์ “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ว่า คำว่า “ธรรม” ในพุทธพจน์นั้น เป็นนิพพานใช่หรือไม่?

ผู้ตั้งกระทู้สันนิษฐานว่า ต้องใช่อย่างแน่นอน เพราะไม่อย่างนั้น จะเห็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไรต่อมามีผู้มาตอบกระทู้ถามดังกล่าวว่า

ถ้าจะตีความในอีกลักษณะหนึ่งก็เรียกได้ว่า
เห็น = การแจ้งในสิ่งๆ นั้น
พุทธะ = ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
การเห็นตถาคต ก็คือ เห็นพุทธะ
การเห็นพุทธะ ก็คือการแจ้งในสัจธรรม เป็นการเข้าสู่การตื่น เป็นผู้รู้ และเบิกบาน
สิ่งเหล่านี้ก็คือลักษณะเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องปลาย  สุดท้ายก็คือนิพพานนั่นเอง

ผมได้วิพากษ์วิจารณ์ข้อความ “เห็น = การแจ้งในสิ่งๆ นั้น” ไปแล้ว  บทความนี้ จะกล่าวถึงข้อความต่อไป

ข้อความนี้ พุทธะ = ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

การแปลคำว่า “พุทธะ” เป็น “ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน” นั้น ถูกต้อง

แต่อย่างไรก็ดี  คำว่า พุทธะมาปรากฏในคำอธิบายข้อความที่ว่า "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นดวงธรรม" ได้อย่างไร  มีความเกี่ยวโยงกันในประเด็นใด ผู้ตอบกระทู้มิได้อธิบายไว้

ข้อความนี้ การเห็นตถาคตก็คือเห็นพุทธะ

ตรงนี้มั่วชัดเจน คือ เป็นคำตอบแบบกำปั้นทุบดิน  ไม่ได้ให้ความรู้อะไรขึ้นมา  อยู่ดีๆ ก็มีคำว่า “ตถาคต” เข้ามาอีก พอๆ กับอยู่ดีๆ ก็มีคำว่า “พุทธะ” เข้ามา

ผู้ตอบกระทู้ก็ไม่ได้อธิบายให้ชัดเจนว่า ตถาคตในข้อความ "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นดวงธรรม" หมายถึง พุทธะ อย่างไร

ข้อความดังกล่าวต้องมีคำอธิบายที่หลักฐานทางวิชาการอีกมากมาย ถึงจะทำให้เข้าใจได้โดยง่าย

คำว่าพุทธะนั้น มีความหมายไปในลักษณะที่เป็นนามธรรมมากกว่าคำว่า ตถาคตในข้อความที่กล่าวถึงกันนี้ 

คำว่า "พุทธะ" นั้น  ควรจะเกิดจาก "การคิด" จนกระทั่ง "รู้" และ "เข้าใจ" คำว่า พุทธะ ดังกล่าวนั้น  ไม่ใช่เกิดจากการ "เห็น" ด้วยจักษุแต่เพียงอย่างเดียว

โดยส่วนใหญ่แล้ว นักวิชาการชอบที่จะตีความว่า พุทธะ คือ สภาวธรรม ซึ่งก็ทำให้สับสนขึ้นไปอีกว่า เป็นสภาวธรรมอย่างไร

ผมขอให้ท่านผู้อ่านสังเกตคำว่า สภาวธรรมไว้ให้ดี ถ้าไปพบเจอที่ใด ก็สันนิษฐานไว้ได้เลยว่า พุทธวิชาการคนดังกล่าว หมดปัญญาอธิบายอย่างสมเหตุสมผลแล้ว

ก็เลยมั่วนิ่มว่าเป็นสภาวธรรม

โดยไม่ได้อธิบายให้เห็นชัดเจนว่า สิ่งนั้นเป็นสภาวธรรมอย่างไร พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ถ้าพุทธวิชาการอธิบายอะไรไม่ได้ ก็จะมั่วนิ่มไว้ก่อนว่าเป็น สภาวธรรม

ข้อความนี้ การเห็นพุทธะ ก็คือการแจ้งในสัจธรรม เป็นการเข้าสู่การตื่น เป็นผู้รู้ และเบิกบาน

น่าน...ไปกันใหญ่

ผู้ตอบกระทู้ต้องการอธิบายคำว่า “เห็นธรรม”  ท่านก็ลากไปถึง “เห็นตถาคต” ลากไปจนถึง “เห็นพุทธะ”  แต่ไม่อธิบายไปเลยว่า “ธรรมะ” คืออะไร ในความหมายของท่าน

ทำไมต้องฉุดกระชากลากถูคนอ่านไปเรื่อย..อย่างนั้น 

คำว่า “เห็นธรรม” ทำไมถึงมาเป็น “การเห็นพุทธะ ก็คือการแจ้งในสัจธรรม การเข้าสู่การตื่น เป็นผู้รู้ และเบิกบานไปได้

เป็นที่น่าสงสัยว่า ผู้ตอบกระทู้เข้าใจในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ เพราะ นำคำว่า "สัจธรรม" เข้ามาร่วมในคำอธิบายอีก 

โดยไม่ได้อธิบายว่า ธรรมกับ สัจธรรมในข้อความดังกล่าวเป็นสิ่งเดียวกันได้อย่างไร

มีพระไตรปิฎกส่วนไหนได้ยืนยันไว้บ้าง โดยไม่อธิบายหรือชี้แจงว่า การเห็นพุทธะกลายเป็นการแจ้งในสัจธรรมได้อย่างไร

นอกจากนั้นแล้ว การแจ้งในสัจธรรมนั้น เป็นการ "เข้า" สู่ การตื่น เป็นผู้รู้ และเบิกบานอย่างไร

มั่วเสียจนไม่รู้จะอธิบายอย่างไร




ศัพท์ยังแปลผิด


กลับเข้ามาที่ประเด็นหลักของบทความชุดนี้ คือ มีคนตั้งคำถามเกี่ยวกับพุทธพจน์ “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ว่า คำว่า “ธรรม” ในพุทธพจน์นั้น เป็นนิพพานใช่หรือไม่?

ผู้ตั้งกระทู้สันนิษฐานว่า ต้องใช่อย่างแน่นอน เพราะไม่อย่างนั้น จะเห็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไรต่อมามีผู้มาตอบกระทู้ถามดังกล่าวว่า

ถ้าจะตีความในอีกลักษณะหนึ่งก็เรียกได้ว่า
เห็น = การแจ้งในสิ่งๆ นั้น
พุทธะ = ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
การเห็นตถาคต ก็คือ เห็นพุทธะ
การเห็นพุทธะ ก็คือการแจ้งในสัจธรรม เป็นการเข้าสู่การตื่น เป็นผู้รู้ และเบิกบาน
สิ่งเหล่านี้ก็คือลักษณะเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องปลาย  สุดท้ายก็คือนิพพานนั่นเอง

ต่อมามีคนยกยอผู้ตอบกระทู้ว่า เป็นผู้ฉลาดล้ำเกินมนุษย์ปกติทั่วๆ ไป

ผู้ตอบกระทู้ตอบรับคำสรรเสริญเยินยอดังกล่าว ด้วยข้อความพยายามถ่อมตัว โดยตอบว่า เป็นการแปลตามตัวอักษร

แต่ก็มาย้ำเพื่อแสดงนัยยะถึงความเก่งกล้าของตนเองที่มีมากกว่าบุคคลอื่นๆ ว่า  ผมชอบอะไรที่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย”

ผมได้อธิบายไปแล้วเกี่ยวกับ “องค์ความรู้” ต่างๆ ที่ต้องมาโต้แย้งกับคำตอบโง่ๆ นั้น  บทความนี้ก็มาถึงการอธิบายว่า คนตอบกระทู้ดังกล่าวมีความโง่เง่าหรือความฉลาดอยู่ในระดับใด

ข้อความแรกเลยก็คือ การที่ผู้ตอบกระทู้ตอบคำยกยกปอปั้นว่า  “ผมชอบอะไรที่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย” ว่า เป็นการแปลตามตัวอักษร

ผมขอยืนยัน เดินยัน พร้อมทั้งนอนยันว่า ข้อความที่ตอบกระทู้ดังกล่าว ไม่ได้เป็นการแปลตามตัวอักษร  และผู้ตอบกระทู้ดังกล่าว

"ไม่ได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ" ทางด้านภาษาศาสตร์แม้แต่นิดเดียว

และคำอธิบายดังกล่าว "ไม่ได้เป็นการทำให้เข้าใจโดยง่าย" แม้แต่น้อย เจ้าของกระทู้ละเมอเพ้อพกไปกับคำชม เพราะ เป็นคนบ้ายอเท่านั้น

คนที่พยายามยกยอปอปั้น ผู้ตอบกระทู้ก็ไม่ได้เข้าใจ พุทธพจน์ที่ว่า "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นดวงธรรม" เช่นเดียวกัน

คำตอบของกระทู้ดังกล่าวนั้น เป็นการตีความของผู้ตอบกระทู้ โดยผู้ตอบกระทู้ได้นำศัพท์ใหม่เข้ามาอธิบายข้อความดังกล่าวอีกหลายคำ

โดยมิได้บอกที่มาว่า มาจากพระไตรปิฎกฉบับใด มาจากพจนานุกรมฉบับใด และไม่ได้อธิบายตามหลักวิชาการทางด้านภาษาศาสตร์เลยว่า ตรงกัน/มีความหมายเหมือนกันเพราะเหตุใด ดังนี้

ข้อความนี้  “เห็น = การแจ้งในสิ่งๆ นั้น

ผู้ตอบกระทู้ แปลคำว่า “เห็น” คือ “การแจ้ง”

คำว่า “เห็น” นั้นเป็นคำกริยา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายว่า

“ก. อาการของตาที่ประสบรูป, ปรากฏแต่ตา, ปรากฏแก่ใจ, คิดรู้

ส่วนคำว่า “แจ้ง” นั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายไว้ 2 ความหมายคือ คำกริยาและคำวิเศษณ์

คำกริยาให้ความหมายว่า “ ก. แสดงให้รู้, บอกให้รู้, เช่น แจ้งความประสงค์.”  ส่วนคำวิเศษณ์ให้ความหมายว่า “ว. กระจ่าง, สว่าง, ชัด, เช่น แจ้งใจ

คำว่า “การแจ้ง” ในทางภาษาศาสตร์แล้ว เป็นคำนาม (noun) ที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า “แจ้ง” ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์ (adjective) [ในภาษาไทย หมวดคำวิเศษณ์ได้รวมทั้งคำคุณศัพท์ (adjective) และคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ไว้ในหมวดเดียวกัน]

โดยตำแหน่งหน้าที่ของคำแล้วคำคุณศัพท์ (adjective) จะทำหน้าที่ขยายคำนาม หรืออธิบายสภาพของประธาน เช่น ฟ้าแจ้งแล้ว เป็นต้น

แต่เมื่อต้องการนำความหมายของคำคุณศัพท์ (adjective) ไปกล่าวถึงเป็นเรื่องหลัก อาจจะทำหน้าเป็นประธานหรือเป็นกรรมก็แล้วแต่

ในทางหลักภาษาจะต้องแปลงคำคุณศัพท์ (adjective) ให้เป็นคำนามเสียก่อน แล้วจึงจะนำไปใช้ได้ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการผิดไวยากรณ์ของภาษา

ในภาษาไทย อาจจะใช้การเติมคำว่า “การ” หรือ “ความ” นำหน้า  เช่น คำว่า “ดี” ก็เป็น “ความดี” คำว่า “งาม” ก็เป็น “ความงาม”  สำหรับคำว่า “แจ้ง” ก็เป็น “การแจ้ง”

ดังนั้น คำว่า “เห็น” จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะไปแปลว่า “การแจ้ง” เพราะ ไม่ได้ทำให้เข้าใจดีขึ้น

อันที่จริงแล้ว คำว่า “เห็น” ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแปลความหมายด้วยคำอื่นๆ อีก คำว่า “เห็น” ก็มีความหมายในตัวเองชัดเจนดีแล้ว

ปัญหาในข้อความดังกล่าวนั้น ไม่ได้เกิดจากศัพท์ว่า “เห็น” แต่เกิดจากคำในส่วนอื่นๆ คือ อะไรเป็นสิ่งที่ถูกเห็น  และการเห็นนั้นใช้ “ตา”อะไร…

โดยสรุป

ผู้ตอบกระทู้ไม่ได้มีความรู้อะไร คำถามที่ว่า “คำว่า “ธรรม” ในพุทธพจน์นั้น เป็นนิพพานใช่หรือไม่?” นั้น  คนถามก็ถามมั่วไป เพราะ รู้ว่าพระพุทธเจ้าอยู่บนอายตนะนิพพาน  เราจะเห็นพุทธเจ้าได้ก็ต้องเห็นในนิพพาน

ผู้ถามจึงตีความคำว่า “ธรรม” ใน “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ว่าคือ นิพพาน

ผู้ตอบก็อยากจะอวดความโง่ เนื่องจากคงเคยอ่านข้อความที่ว่า “แจ้งในนิพพาน”  และคงมีความเห็นไปในทำนองเดียวกับคนถาม

จึงแปลว่า “เห็น” ใน “เห็นธรรม” เป็นแจ้งนิพพานเสียเลย

โง่ดีแท้ๆ.........