บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

“เรา” เอกพจน์หรือพหูพจน์


ในบทความก่อนหน้านี้ ผมได้อธิบายพุทธพจน์ “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ว่า มาจากวักลิสูตร  จากความหมายของวักกลิสูตรดังกล่าว สิ่งที่ต้องควรให้คำอธิบายอย่างมากก็คือ 5 ประเด็นเหล่านี้ 
  1. ตาของพระวักกลิที่สามารถจะเห็น ธรรมและ เห็น กายของพระพุทธเจ้าด้วยเป็นอย่างไร
  2. ธรรมในพระสูตรนี้คืออะไร และมีลักษณะเป็นอย่างไร
  3. กายของพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธองค์ใช้คำสรรพนาม เราเป็นกายอะไร รูปร่างหรือลักษณะเป็นอย่างไร
  4. คำว่า เรานั้น ต้นฉบับภาษาบาลีหมายถึง เอกพจน์ หรือพหูพจน์?
  5. ธรรมกับ กายของพระพุทธเจ้าอยู่ใกล้หรือไกลกันอย่างไร 

ผมได้อธิบายข้อที่ 1 - 3 ไปแล้ว ในบทความนี้ กำลังอธิบายในหัวข้อที่ 4 ที่ว่า “คำว่า เรานั้น ต้นฉบับภาษาบาลีหมายถึง เอกพจน์ หรือพหูพจน์?

ตรงนี้เป็นความสำคัญอย่างหนึ่ง แต่พุทธวิชาการไม่เคยให้ความสนใจ คำสรรพนามนั้น รู้กันโดยทั่วไปว่ามีบุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 และบุรุษที่ 3 คำสรรพนามบุรุษที่ 1 นั้น มีทั้งเอกพจน์และพหูพจน์

คำว่า ฉัน กู อาตมาก็เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 เอกพจน์คือ คนเดียว แต่คำว่า เรานั้น เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์

ในพระสูตรนี้ พระพุทธองค์ไปพบกับพระวักกลิเพียงพระองค์เดียว เป็นอันที่น่าหาเหตุผลว่า ทำไมพระพุทธองค์จึงทรงใช้คำว่า เรา

นอกจากนั้นแล้ว ในพระไตรปิฎกมีเนื้อความเป็นจำนวนมากที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทั้งๆ ที่ในขณะนั้น มีพระพุทธองค์อยู่เพียงพระองค์เดียว

เอาตัวอย่างจากโอวาทปาติโมกข์เลยดีกว่า


คาถาต้นฉบับ
คำแปล
๏ ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
๏ ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
๏ สพฺพปาปสฺส อกรณํ
๏ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1
กุสลสฺสูปสมฺปทา
การบำเพ็ญแต่ความดี 1
สจิตฺตปริโยทปนํ
การทำจิตของตนให้ผ่องใส 1
เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
๏ อนูปวาโท อนูปฆาโต
๏ การไม่กล่าวร้าย 1 การไม่ทำร้าย 1
ปาติโมกฺเข จ สํวโร
ความสำรวมในปาติโมกข์ 1
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร 1
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
ที่นั่งนอนอันสงัด 1
อธิจิตฺเต จ อาโยโค
ความเพียรในอธิจิต 1
เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

คำว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็แสดงความหมายว่า มีพระพุทธเจ้าหลายพระองค์

ตรงนี้ไม่มีพุทธวิชาการคนไหนสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ แต่วิชาธรรมกายสามารถอธิบายได้

กล่าวคือ ในวิชาธรรมกายนั้น เมื่อผ่านวิชชา 18 กายไปแล้ว ก็จะมีเนื้อหาวิชาที่ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในนิพพานได้

ตรงนี้ขออธิบายเพิ่มเติมว่า เป็นการตัดกิเลสชั่วคราว จึงสามารถขึ้นไปนิพพานได้  ไม่ใช่ทำวิชชาเพียงแค่นี้แล้ว จะบรรลุพระอรหันต์ไปเลย อย่างที่มีคนเข้าใจผิดไปเช่นนั้น คือ นึกว่า พอผ่านวิชชา 18 กายแล้ว ก็จะไปพระอรหันต์ไปเลย

พอหยุดทำวิชชา ก็กลับมาเป็นคนเดิมอีก

ในการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้านั้น สามารถเข้าเฝ้าได้หลายพระองค์ตามแต่ความต้องการ คือ มีหลักวิชชาอธิบายได้ และมีคนปฏิบัติตามได้อย่างนั้น เป็นจำนวนมาก

การที่พระพุทธองค์กล่าวว่า ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรมก็หมายถึงว่า ผู้ใดเห็นธรรมก็สามารถเห็นพระพุทธเจ้าได้หลายพระองค์ พระองค์จึงใช้ศัพท์ว่า เรา”….






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น