บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

บริบท (Context) ของการใช้ภาษา


ในบทความ “ธรรมะ คือ นิพพานใช่หรือไม่” ผมได้เกริ่นนำไปแล้วว่า มีคนมาซักถามกันเกี่ยวกับพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” 

แล้วก็มีคนมามั่วนิ่มตอบไปเรื่อยเฉื่อย ตามประสาพวกโง่อวดฉลาด  แต่คนอ่านก็โง่พอๆ กัน จึงไม่รู้ว่า ที่กำลังเสวนากันอยู่นั้น ผิดทั้งหมด 

ปัญหาประการหนึ่งก็คือ  พวกโง่ๆ เหล่านั้น ใช้วิชาความรู้จากภาษาบาลีบ้าง จากวิชาความรู้ภาษาไทยบ้าง  ผสมปนเปไปกับหลักการทางปรัชญาเท่านั้น

ไม่ได้นำหลักการของทางภาษาศาสตร์เข้ามาร่วมศึกษาด้วย….

ในบทความนี้ ผมจะอธิบายถึงหลักการของภาษาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

ในการศึกษาภาษาของนักภาษาศาสตร์ นักภาษาศาสตร์จะให้ความสำคัญกับตัวบท/ข้อความ (Text) และบริบท (Context) ของการใช้ภาษาในแต่ละสถานการณ์อย่างเท่าเทียมกัน

ตัวบท/ข้อความ (text) ก็คือ ตัวภาษาทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน

ส่วนบริบท (Context) ของการใช้ภาษา ก็คือ สภาวะแวดล้อมที่ก่อให้เกิดสถานการณ์ทางภาษาในขณะนั้น ซึ่งหมายรวมถึง ประวัติความเป็นมา สาเหตุของเหตุการณ์ที่จะเกิดภาษานั้นขึ้น ภูมิหลังของผู้ส่งสาร [ผู้พูด/ผู้เขียน] ผู้รับสาร [ผู้อ่าน/ผู้ฟัง] ฯลฯ เป็นต้น

ขออธิบายเพื่อความเข้าใจเพิ่มเติมว่า ในการศึกษาภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาพูด/ภาษาเขียน ถ้าจะตัดมาวิเคราะห์แต่เฉพาะตัวบท/ข้อความ (Text) โดยละเลยที่จะศึกษาถึงความเป็นมาของผู้ส่งสารผู้รับสาร สถานการณ์ในขณะนั้น จะไม่สามารถวิเคราะห์ความหมายได้ตรงตามความเป็นจริงเลย

ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1

เมื่อประมาณสิบกว่าปีมาแล้ว มีข่าวอื้อฉาวตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่า การรักษาของจิตแพทย์ไทยท่านหนึ่ง ได้บังคับให้คนไข้ "อม" อวัยวะส่วนหนึ่งของจิตแพทย์คนดังกล่าว

หลังจากที่หนังสือพิมพ์ฉบับภาษาไทย เสนอข่าวกันอย่างครึกโครม ก็มีหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ นำไปลงข่าว โดยใช้คำศัพท์ว่า "อมนกเขา"

ปรากฏว่า กลุ่ม/สมาคมรักสัตว์ของประเทศอังกฤษ ได้ทำหนังสือมาประท้วงรัฐบาลไทยว่า ทำไมถึงให้มีการรักษาอย่างป่าเถื่อน ไม่ไปเป็นตามหลักการสมัยใหม่ คือ ให้คนไข้อมนกเขา (Dove)

เรื่องนี้จะเห็นได้ว่า  กลุ่ม/สมาคมรักสัตว์ของประเทศอังกฤษไม่เข้าบริบท (Context) ของข่าวนั้นในประเทศ จึงเข้าใจผิดไปเช่นนั้น เพราะ คำว่า นกเขาของภาษาไทยในข่าวที่ว่านั้น หมายถึงอวัยวะเพศของจิตแพทย์คนดังกล่าว ไม่ใช่สัตว์

ถ้ากลุ่ม/สมาคมรักสัตว์ของประเทศอังกฤษรู้ความจริงว่า “อมนกเขา” คือ การอมอวัยวะเพศของหมอ อาจจะส่งคนมารักษาโรคที่เมืองไทยก็อาจจะเป็นได้

ตัวอย่างที่ 2

ขอให้ผู้อ่านลองสังเกตคำสนทนาดังนี้ แล้วคิดตามว่า เข้าใจหรือไม่

เสียงผู้ชาย: ขอหอมหน่อย
สียงผู้หญิง: มีแต่ผักตบ ต้องการหรือไม่

จะเห็นได้ว่า ถ้าพิจารณาเฉพาะตัวของภาษา ผู้อ่านจะไม่เข้าใจได้เลยว่า ผู้ชายคนดังกล่าวขอจูบผู้หญิง  หรือขอต้นหอมจากผู้หญิง 

ในกรณีที่ผู้ชายขอต้นหอม ทำไมผู้หญิงจึงจะเสนอผักตบให้แทน ในเมื่อเป็นอาหารที่ทดแทนกันไม่ได้   ถ้าผู้หญิงให้ผักชีแทน น่าจะสมเหตุสมผล

ดังนั้น ในการศึกษาภาษา นักภาษาศาสตร์จำเป็นจะต้องนำเอาบริบท (Context) ของสถานการณ์ภาษาในช่วงนั้นเข้ามาร่วมในการศึกษาและวิเคราะห์ด้วย

ความหมายของวักกลิสูตร

จากพระวักกลิสูตร เรารู้ว่าพระวักกลิ ถึงแม้จะอาพาธ แต่ไม่ได้ส่งผลถึงประสิทธิภาพการเห็นของตา และรู้ว่าพระวักกลิไม่ได้ตาบอด

ดังนั้น พระวักกลิจึงมีความสามารถที่จะมองเห็นอะไรก็ได้

ประการสำคัญก็คือ พระวักกลิก็ต้องการที่จะเห็นพระวรกายเนื้อของพระพุทธเจ้า เพราะคาดว่า ท่านเองก็คงจะมรณภาพในเวลาไม่ช้าไม่นาน 

ดังนั้น จากเนื้อความดังกล่าวนั้น แสดงว่าตาเนื้อ/มังสจักษุของพระวักกลิปกติดี

เมื่อพระพุทธองค์ทรงไปเยี่ยมพระวักกลิถึงที่นอน เมื่อทรงปฏิสัณฐานหรือทักทายกันพอประมาณแล้ว พระองค์ตรัสว่า

อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร?

ดูกร วักกลิ  ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นธรรม.

วักกลิเป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม.

จากข้อความที่ยกมาดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ช่วงนั้นพระวักกลิ เห็น พระวรกายของพระพุทธเจ้าด้วยตาเนื้อ/มังสจักษุ ตามความต้องการเรียบร้อยแล้ว

แต่พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า การเห็นกายเนื้อของพระองค์ไม่ได้มีประโยชน์อะไร เพราะเป็นกายที่เปื่อยเน่า  ควรที่จะเห็น ธรรมดีกว่า

เมื่อเห็น  ธรรมแล้วก็จะเห็นพระพุทธเจ้าอีกกายหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พระวรกายเนื้อที่อยู่ต่อหน้าพระวักกลิขณะนั้น ซึ่งจะต้องเปื่อยเน่าไป และควรที่จะเป็นพระวรกายที่มีคุณสมบัติดีกว่า คือ ไม่เปื่อยเน่า

จากความหมายของวักกลิสูตรดังกล่าว สิ่งที่ต้องควรให้คำอธิบายของกว้างขวางก็คือ

1) ตาของพระวักกลิที่สามารถจะเห็น ธรรมและ เห็น กายของพระพุทธเจ้าด้วยเป็นอย่างไร

2) ธรรมในพระสูตรนี้คืออะไร และมีลักษณะเป็นอย่างไร

3) กายของพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธองค์ใช้คำสรรพนาม เราเป็นกายอะไร รูปร่างหรือลักษณะเป็นอย่างไร

4) คำว่า เรานั้น ต้นฉบับภาษาบาลีหมายถึง เอกพจน์ หรือพหูพจน์?

5) ธรรมกับ กายของพระพุทธเจ้าอยู่ใกล้หรือไกลกันอย่างไร เพราะ บุคคลจะเห็นของสองสิ่งพร้อมๆ กันนั้น ของดังกล่าวต้องอยู่ในทิศทางเดียวกัน

พูดง่ายๆ ว่า ถ้ามีของสองสิ่ง ของสิ่งหนึ่งอยู่ข้างหน้า ของอีกสิ่งอยู่ข้างหลัง หรืออยู่ทางด้านซ้ายมือ หรือขวามือก็ย่อมที่มองเห็นพร้อมกันไม่ได้

1) ตาของพระวักกลิที่สามารถจะเห็น ธรรมและ เห็น กายของพระพุทธเจ้าด้วยเป็นอย่างไร

จากข้อความของวักกลิสูตรที่ยกมาข้างต้น  เราทราบความหมายของคำว่า "เรา" บ้างแล้ว คือ ไม่ใช่พระวรกายเนื้อของพระพุทธเจ้า

ดังนั้น คำว่า "เห็นธรรม", "เห็นเรา" จะต้องใช้ตาประเภทอื่น  และการเห็นนั้น ผู้เห็นจะต้องเห็น "ธรรม" ด้วย และเห็น "พระพุทธเจ้า" ด้วย

คำว่า "เห็น" นี้  เมื่อพิจารณาถึงอายนตนะภายใน 6 ชนิด คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และ ใจ ก็จะพบว่า เครื่องมือในการเห็นนั้นต้องไม่ใช่  หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ แน่ๆ เพราะไม่ใช่หน้าที่ของอายตนะเหล่านี้

ในพระสูตรดังกล่าว จะต้องใช้ "ตา" เป็นเครื่องมือในการเห็นแน่ๆ  และต้องไม่ใช่ ตาเนื้อ/มังสจักษุของพระวักกลิในขณะนั้นด้วย 

ในเมื่อไม่ใช่ตาเนื้อ/มังสจักษุที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดแล้ว  จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า แล้ว "ตา" ซึ่งจะมาทำหน้าที่ "เห็น" ในพุทธพจน์ดังกล่าว เป็น "ตา" อะไร?

อันที่จริงแล้ว ในพระไตรปิฎกมีการกล่าวถึงเรื่อง ตาภายใน การเห็น การดู การรู้อยู่เป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเป็นปฐมเทศนาก็มีการกล่าวถึงตาภายในและการเห็นแล้ว

การที่พุทธวิชาการปฏิเสธการเห็นด้วยตาภายใน เพราะ ไปเชื่อวิทยาศาสตร์เก่าแบบนิวตันที่ตกยุคไปแล้ว 

จึงเป็นการมืดบอดทางปัญญา และทำให้ผลการศึกษาของพุทธวิชาการเหล่านั้น ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงอย่างมาก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น