บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

เห็นธรรมคือแจ้งสัจจธรรม


กลับเข้ามาที่ประเด็นหลักของบทความชุดนี้ คือ มีคนตั้งคำถามเกี่ยวกับพุทธพจน์ “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ว่า คำว่า “ธรรม” ในพุทธพจน์นั้น เป็นนิพพานใช่หรือไม่?

ผู้ตั้งกระทู้สันนิษฐานว่า ต้องใช่อย่างแน่นอน เพราะไม่อย่างนั้น จะเห็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไรต่อมามีผู้มาตอบกระทู้ถามดังกล่าวว่า

ถ้าจะตีความในอีกลักษณะหนึ่งก็เรียกได้ว่า
เห็น = การแจ้งในสิ่งๆ นั้น
พุทธะ = ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
การเห็นตถาคต ก็คือ เห็นพุทธะ
การเห็นพุทธะ ก็คือการแจ้งในสัจธรรม เป็นการเข้าสู่การตื่น เป็นผู้รู้ และเบิกบาน
สิ่งเหล่านี้ก็คือลักษณะเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องปลาย  สุดท้ายก็คือนิพพานนั่นเอง

ผมได้วิพากษ์วิจารณ์ข้อความ “เห็น = การแจ้งในสิ่งๆ นั้น” ไปแล้ว  บทความนี้ จะกล่าวถึงข้อความต่อไป

ข้อความนี้ พุทธะ = ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

การแปลคำว่า “พุทธะ” เป็น “ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน” นั้น ถูกต้อง

แต่อย่างไรก็ดี  คำว่า พุทธะมาปรากฏในคำอธิบายข้อความที่ว่า "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นดวงธรรม" ได้อย่างไร  มีความเกี่ยวโยงกันในประเด็นใด ผู้ตอบกระทู้มิได้อธิบายไว้

ข้อความนี้ การเห็นตถาคตก็คือเห็นพุทธะ

ตรงนี้มั่วชัดเจน คือ เป็นคำตอบแบบกำปั้นทุบดิน  ไม่ได้ให้ความรู้อะไรขึ้นมา  อยู่ดีๆ ก็มีคำว่า “ตถาคต” เข้ามาอีก พอๆ กับอยู่ดีๆ ก็มีคำว่า “พุทธะ” เข้ามา

ผู้ตอบกระทู้ก็ไม่ได้อธิบายให้ชัดเจนว่า ตถาคตในข้อความ "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นดวงธรรม" หมายถึง พุทธะ อย่างไร

ข้อความดังกล่าวต้องมีคำอธิบายที่หลักฐานทางวิชาการอีกมากมาย ถึงจะทำให้เข้าใจได้โดยง่าย

คำว่าพุทธะนั้น มีความหมายไปในลักษณะที่เป็นนามธรรมมากกว่าคำว่า ตถาคตในข้อความที่กล่าวถึงกันนี้ 

คำว่า "พุทธะ" นั้น  ควรจะเกิดจาก "การคิด" จนกระทั่ง "รู้" และ "เข้าใจ" คำว่า พุทธะ ดังกล่าวนั้น  ไม่ใช่เกิดจากการ "เห็น" ด้วยจักษุแต่เพียงอย่างเดียว

โดยส่วนใหญ่แล้ว นักวิชาการชอบที่จะตีความว่า พุทธะ คือ สภาวธรรม ซึ่งก็ทำให้สับสนขึ้นไปอีกว่า เป็นสภาวธรรมอย่างไร

ผมขอให้ท่านผู้อ่านสังเกตคำว่า สภาวธรรมไว้ให้ดี ถ้าไปพบเจอที่ใด ก็สันนิษฐานไว้ได้เลยว่า พุทธวิชาการคนดังกล่าว หมดปัญญาอธิบายอย่างสมเหตุสมผลแล้ว

ก็เลยมั่วนิ่มว่าเป็นสภาวธรรม

โดยไม่ได้อธิบายให้เห็นชัดเจนว่า สิ่งนั้นเป็นสภาวธรรมอย่างไร พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ถ้าพุทธวิชาการอธิบายอะไรไม่ได้ ก็จะมั่วนิ่มไว้ก่อนว่าเป็น สภาวธรรม

ข้อความนี้ การเห็นพุทธะ ก็คือการแจ้งในสัจธรรม เป็นการเข้าสู่การตื่น เป็นผู้รู้ และเบิกบาน

น่าน...ไปกันใหญ่

ผู้ตอบกระทู้ต้องการอธิบายคำว่า “เห็นธรรม”  ท่านก็ลากไปถึง “เห็นตถาคต” ลากไปจนถึง “เห็นพุทธะ”  แต่ไม่อธิบายไปเลยว่า “ธรรมะ” คืออะไร ในความหมายของท่าน

ทำไมต้องฉุดกระชากลากถูคนอ่านไปเรื่อย..อย่างนั้น 

คำว่า “เห็นธรรม” ทำไมถึงมาเป็น “การเห็นพุทธะ ก็คือการแจ้งในสัจธรรม การเข้าสู่การตื่น เป็นผู้รู้ และเบิกบานไปได้

เป็นที่น่าสงสัยว่า ผู้ตอบกระทู้เข้าใจในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ เพราะ นำคำว่า "สัจธรรม" เข้ามาร่วมในคำอธิบายอีก 

โดยไม่ได้อธิบายว่า ธรรมกับ สัจธรรมในข้อความดังกล่าวเป็นสิ่งเดียวกันได้อย่างไร

มีพระไตรปิฎกส่วนไหนได้ยืนยันไว้บ้าง โดยไม่อธิบายหรือชี้แจงว่า การเห็นพุทธะกลายเป็นการแจ้งในสัจธรรมได้อย่างไร

นอกจากนั้นแล้ว การแจ้งในสัจธรรมนั้น เป็นการ "เข้า" สู่ การตื่น เป็นผู้รู้ และเบิกบานอย่างไร

มั่วเสียจนไม่รู้จะอธิบายอย่างไร




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น