บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

“ธรรมะ” กับ “เรา” ใกล้หรือไกล


ในบทความก่อนหน้านี้ ผมได้อธิบายพุทธพจน์ “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ว่า มาจากวักลิสูตร  จากความหมายของวักกลิสูตรดังกล่าว สิ่งที่ต้องควรให้คำอธิบายอย่างมากก็คือ 5 ประเด็นเหล่านี้

1) ตาของพระวักกลิที่สามารถจะเห็น ธรรมและ เห็น กายของพระพุทธเจ้าด้วยเป็นอย่างไร
2) ธรรมในพระสูตรนี้คืออะไร และมีลักษณะเป็นอย่างไร
3) กายของพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธองค์ใช้คำสรรพนาม เราเป็นกายอะไร รูปร่างหรือลักษณะเป็นอย่างไร
4) คำว่า เรานั้น ต้นฉบับภาษาบาลีหมายถึง เอกพจน์ หรือพหูพจน์?
5) ธรรมกับ กายของพระพุทธเจ้าอยู่ใกล้หรือไกลกันอย่างไร

ผมได้อธิบายข้อที่ 1 - 4 ไปแล้ว ในบทความนี้ กำลังอธิบายในหัวข้อที่ 5 ที่ว่า ธรรมกับ กายของพระพุทธเจ้าอยู่ใกล้หรือไกลกันอย่างไร

จากหัวข้อย่อยที่ผ่านมา ผู้เขียนยังไม่อธิบายว่า ธรรมกายหรือพรหมกายของพระพุทธเจ้ามีรูปร่างอย่างไร ซึ่งผู้เขียนมีเจตนาที่จะมาอธิบายพร้อมๆ กันในส่วนนี้

ขอทบทวนกายทั้ง 18 กายก่อน ด้วยภาพนี้


จากที่กล่าวไว้ในหัวข้อที่ผ่านมาว่า กายมนุษย์หยาบ-กายอรูปพรหมละเอียดเป็นขั้นของสมถะกรรมฐาน

ส่วนตั้งแต่กายธรรมพระโสดาหยาบ-กายธรรมพระอรหัตละเอียดเป็นขั้นของวิปัสสนากรรมฐานนั้น ผู้เขียนขอขยายความเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าประเด็นชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้

การเห็นกายมนุษย์หยาบนี้ ไม่ต้องอธิบายเพราะต้องเห็นด้วยตาเนื้อ/มังสจักษุ แต่การเห็นกายมนุษย์ละเอียด-กายอรูปพรหมละเอียดนั้นเป็นอย่างไร

กายมนุษย์ละเอียด-กายอรูปพรหมละเอียดนั้น ยังเป็นขั้นสมถะก็เพราะว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณยังเป็นอนิจจัง/ทุกขัง/อนัตตาอยู่ ยังไม่คงที่แน่นอนเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา

ลักษณะที่เห็นนั้น ยังมีรูปร่างเหมือนกายมนุษย์หยาบ แตกต่างกันเพียงกายนั้นใส และเครื่องแต่งกายของกายต่างๆ นั้นคล้ายกับเทวดา 

ถ้าจะอธิบายกันให้เห็นภาพพจน์ง่ายๆ ก็คล้ายกับตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งคนไทยอธิบายให้เหมือนกับเทวดา 

[เรื่องรามเกียรติ์นี้ ทางเอเชียอาคเนย์รับมาจากอินเดียด้วยกัน แต่ไทยดัดแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรมของตนเอง จนตัวละครต่างๆ เป็นเทวดาไปหมด  สำหรับในอินโดนีเซียนั้น หนุมานเองยังมีลักษณะเป็นลิงอยู่]

กายมนุษย์ละเอียด-กายอรูปพรหมละเอียดนั้นมีดวงธรรมประจำอยู่ทุกกายแต่ไม่ใหญ่มากนัก  เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมสามารถปฏิบัติธรรมจนกระทั่งเข้าถึงกายธรรมพระโสดาหยาบ-กายธรรมพระอรหัตละเอียด ซึ่งเป็นขั้นของวิปัสสนานั้น ดวงธรรมจะขยายจนเท่าหน้าตักธรรมกาย

โดยเฉพาะกายธรรมพระอรหัต ดวงธรรมจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหน้าตักของกายธรรมพระอรหัต คือ อย่างต่ำ 20 วาซึ่งผู้ปฏิบัติธรรมจะมองเห็นว่า มีธรรมกายนั่งอยู่ในดวงธรรม


ภาพดังกล่าว ด.ญ. อมรรัตน์ ชาญตะกั่ว เด็กนักเรียนชั้น ม. 3/2 ของโรงเรียนบ้านนา (ประสิทธิ์วิทยาการ) เป็นผู้วาด ในปี พ.ศ. 2554

ภาพต่อไป เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร




ภาพทั้งหมดนี้ เป็นหลักฐานสนับสนุนข้อความที่ว่า “ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นธรรม” ได้อย่างกระจ่างชัดที่สุด อย่างเป็นปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธด้วย

กล่าวคือ ตำราของวิชาธรรมกายเป็นปริยัติ  เมื่อวิทยากรไปสอน ผู้เรียนทำตามคำสอนได้เป็นปฏิบัติ  เด็ก “รู้” และ “เห็น” ตามคำสอนเป็นปฏิเวธ

เพื่อให้เป็นหลักฐานในทางวิชาการ ผมจึงให้เด็กวาดรูปให้ดู เพื่อเป็นหลักฐานสนับสนุน “ปฏิเวธ” นั้น

โดยสรุป

กายธรรมพระอรหัตและดวงธรรมของกายธรรมพระอรหัตนี้เองที่พุทธพจน์ที่ว่า "ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นธรรม"  ธรรมะมีลักษณะเป็นดวง จึงสามารถกล่าวได้ว่า “ผู้ใดแล เห็นดวงธรรม ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นดวงธรรม

เส้นผ่าศูนย์กลางของดวงธรรมมีความยาวเท่ากับหน้าตักของกายธรรม  เมื่อกายธรรมนั่งในท่าขัดสมาธิ  จึงดูเหมือนว่า กายธรรมนั่งอยู่ในดวงธรรม 

ธรรมชาติเป็นอย่างนั้น ....



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น