กลับเข้ามาที่ประเด็นหลักของบทความชุดนี้
คือ มีคนตั้งคำถามเกี่ยวกับพุทธพจน์ “ผู้ใดเห็นธรรม
ผู้นั้นเห็นเรา” ว่า คำว่า “ธรรม”
ในพุทธพจน์นั้น เป็นนิพพานใช่หรือไม่?
ผู้ตั้งกระทู้สันนิษฐานว่า
ต้องใช่อย่างแน่นอน เพราะไม่อย่างนั้น จะเห็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร? ต่อมามีผู้มาตอบกระทู้ถามดังกล่าวว่า
ถ้าจะตีความในอีกลักษณะหนึ่งก็เรียกได้ว่า
เห็น = การแจ้งในสิ่งๆ
นั้น
พุทธะ = ผู้รู้
ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
การเห็นตถาคต ก็คือ เห็นพุทธะ
การเห็นพุทธะ
ก็คือการแจ้งในสัจธรรม เป็นการเข้าสู่การตื่น เป็นผู้รู้ และเบิกบาน
สิ่งเหล่านี้ก็คือลักษณะเบื้องต้น
เบื้องกลาง และเบื้องปลาย
สุดท้ายก็คือนิพพานนั่นเอง
|
ผมได้วิพากษ์วิจารณ์ข้อความไปเกือบทั้งหมดแล้ว
เหลือบรรทัดสุดท้ายคือ
ข้อความนี้
“สิ่งเหล่านี้ ก็คือลักษณะเบื้องต้น
เบื้องกลาง และเบื้องปลาย สุดท้ายก็คือนิพพานนั่นเอง”
ข้อความสุดท้ายนี้แหละ
ที่เป็นหลักฐานยืนยันที่สำคัญถึงความโง่ของผู้ตอบกระทู้ดังกล่าว พุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม
ผู้นั้นเห็นเรา” นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับ
“สิ่งเหล่านี้” ตรงนี้
คำว่า
"สิ่งเหล่านี้" นั้นคืออะไรบ้าง
และเป็นอย่างไร "สิ่งเหล่านี้" มีลักษณะเป็นเบื้องต้นอย่างไร
เป็นเบื้องกลางอย่างไร และเป็นเบื้องปลายอย่างไร
นอกจากนั้นแล้ว
คำว่า "เบื้องปลาย"
ก็น่าจะหมายถึง สุดท้ายปลายทางของสิ่งใดๆ
ก็ยังกลับมีสิ่งที่ต่อจากเบื้องปลายอีกว่า "สุดท้ายก็คือนิพพาน"
ผมขอยืนยันว่า
คำอธิบายข้างต้นของผู้ตอบกระทู้
ไม่ได้เป็นการแปลหรือตีความแปลตามตัวอักษรแต่อย่างใด
อีกทั้ง
เมื่ออ่านแล้ว ก็ไม่ได้ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อความที่ว่า "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา
ผู้นั้นเห็นดวงธรรม" เพิ่มขึ้นแต่เดิมแต่อย่างใด
ข้อเขียนของผู้ตอบกระทู้นั้น
นอกจากผู้ตอบกระทู้เองก็ยังไม่เข้าใจในข้อความที่ว่า "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา
ผู้นั้นเห็นดวงธรรม" อย่างจริงจังแล้ว
ยังทำให้ผู้ที่มีความรู้น้อยมากๆ
และไม่นิยมคิดด้วยสติปัญญาของตนเอง นิยมแต่เพียงนำความคิดของผู้อื่นมาเป็นความรู้ของตนเอง
จึงทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อความดังกล่าวขึ้นไปอีก
บุคคลพวกนี้
มักจะทำตัวเป็นอึ่งอ่างที่พยายามจะพองตัวให้เท่ากับวัวที่ลูกของตัวเองเล่าให้ฟัง
ผลสุดท้ายก็คือ ท้องแตกตาย
ประการสุดท้ายที่จะเตือนกันในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนด้วยกันก็คือ
ศาสนาพุทธเป็นคำสอนที่ดีที่สุดในอนันตจักรวาลนี้
เป็นคำสอนที่สามารถจะทำให้มนุษย์สามารถพ้นความทุกข์ได้
แต่ถ้ามีคนใดคนหนึ่งอธิบายคำสอนของศาสนาพุทธออกนอกไปจากแนวทางที่ถูกต้อง
โทษทัณฑ์ที่ได้รับ ก็จะรุนแรงสาหัสเทียบเท่ากับความสุขที่อาจจะได้เลยทีเดียว
ดังนั้น ถ้า "ไม่รู้"
ก็ควรจะบอกกับผู้อื่นว่า "ไม่รู้"
"รู้"
ขนาดใดก็ควรจะบอกว่า "รู้" ขนาดใด
ข้อความใดยัง "ไม่ชัดเจน" ก็ควรจะบอกว่า
"ไม่ชัดเจน"
จะเป็นหนทางที่ดีว่า
ที่ปลอดภัยกว่า การที่จะทำตัวเป็นอึ่งอ่างพองลม
โดยต้องการมีหน้ามีตามีชื่อเสียงในสังคมจอมปลอม ไม่ใช่หรือ